วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ
เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย
ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol
/ Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้
นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้
โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
|
ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน
การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก
ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย
ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก
ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง
ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน
อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ
คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด
ๆ
เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้
้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น
อินเทอร์เน็ตราว 45,000เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด
มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี
ประวัติความเป็นมาและมีการ
พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น
อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต (ARPAnet
) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้
การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced
Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต
ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ
โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย
คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย
สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ
กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย
ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่
ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่
คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ
ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น
หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน
ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ
คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง
การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก
เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล
โครงการอาร์พาเน็ตอาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์
อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง
หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย
และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก
เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย
ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย
โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์
พื้นฐานการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต
พื้นฐานการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต
การสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นเป็นการรับ-ส่งข้อมูลหรือที่เรียกว่า
การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน
ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อและต้องการสื่อสารข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆในเครือข่าย
อาจจะมีฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น
เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันและแปลความหมายได้ตรงกัน
จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกันซึ่งเรียกว่า โพรโทคอล (Protocol)
โพรโทคอล คือ
ระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล
โดยสามารถส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง
โดยโพรโทคอลนั้น มีหลายชนิด เช่น โพรโทคอล IPX/SPXโพรโทคอล NetBEUI และโพรโทคอล Apple Talk ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานต่างกัน
ดังนั้น
การสื่อสารระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ข้อตกลงโพรโทคอลเช่นเดียวกันซึ่งโพรโทคอลที่นิยมใช้ในการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
เป็นโพรโทคอลทีซีไอพี (TCP/IP :
Transmission Control Protocol/Internet Protocol)เป็นหลัก
จุดเด่นของโพรโทคอล
ทีซีพีไอพี (TCP/IP) คือเมื่อการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปการณ์ใดๆ
เข้าสู่ระบบเครือข่ายที่เป็นทีซีพีไอพี (TCP/IP) นั้น
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ติดต่อสื่อสารร่วมกันจะต้องมีหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายกำกับเสมอ
เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูลต้นทางและนำข้อมูลไปยังเครือข่ายเครื่องปลายทางที่ถูกต้อง
ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารจะต้องมีการระบุหมายเลขขอเครื่องต่างๆที่ไม่ซ้ำกันไม่เช่นนั้นข้อมูลก็อาจจะไม่ถึงที่หมายปลายทางได้
หมายเลขของเครื่องหรืออุปกรณ์นี้เรียกว่า ไอพี (IP) โดยหมายเลขกำกับที่เป็นหมายไอพี จะเป็นเลขฐาน 2 ขนาด 32 บิต
เลขแต่ละชุดจะถูกคั่นด้วยจุด ดังนั้น เลขแต่ละชุดจึงสามารถมีค่าตั้งแต่ 0-255
จากหมายเลขไอพี
ขนาด 32 บิต
ที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นไอพีเวอร์ชัน 4 สามารถใช้อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ตได้มากถึงสี่พันล้านเครื่องโดยประมาณซึ่งเป็นจำนวนที่มากหมายมหาศาลจากในอดีต
แต่ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น
จึงทำให้หมายเลขไอพีที่ใช้ในปัจจุบันเริ่มไม่เพียงพอเนื่องจากการขยายตัวของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุกรณ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
จึงได้มีการพัฒนาเป็นไอพีเวอร์ชัน 6 ซึ่งกำหนดโดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชัน 4 และมาตรฐานไอพีเวอร์ชัน 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิต ในการระบุหมายเลขไอพี
ระบบชื่อโดเมน (Domain
Name System)
Domain Name คือชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ
ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้
ชื่อ Domain Name จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก
ไม่แตกต่างกันเพราะ ระบบอินเตอร์เน็ตจะรับรู้ตัวอักษรเป็นตัวเล็กทั้งหมด เช่นITTradefair.com และ ittradefair.com ถือว่าเป็นชื่อเดียวกัน
Domain Name ทำงานอย่างไร
ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะใช้กลุ่มตัวเลข 4 กลุ่มที่คั่นด้วยจุด (ตัวเลขในแต่ละกลุ่มจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255) เช่น 203.33.192.255 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ IP Address ในการระบุตำแหน่งของ Website ต่างๆ
เพื่อให้รู้ว่าอยู่บนเครื่องใดและอยู่ในเครือข่ายใด แต่เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลขซึ่งยากแก่การจดจำดังนั้นจึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะใช้ชื่อหรือกลุ่มของตัวอักษร
ซึ่งก็คือ Domain Name ในการอ้างอิงแทน
โดยจะอาศัย DNS Server มาช่วยจับคู่ IP Address และ Domain name เข้าด้วยกัน
ดังนั้นเมื่อมีผู้ต้องการที่จะเรียกดู Website ของท่าน ไม่ว่าจะทราบ IP Address หรือ Domain name เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็จะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ผิดพลาด
การเตรียมการเพื่อจดชื่อโดเมน
ชื่อโดเมนที่ต้องการจดทะเบียน ผู้ให้บริการจดโดเมน
ที่ต้องการไปจะจดกี่ปี ค่าบริการเท่าไรเจ้าของชื่อโดเมน (Registrant) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ถ้าหากเป็นองค์กร
ให้ใส่ชื่อองค์กรผู้ดูแลชื่อโดเมน (Administrative Contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์ผู้ติดต่อทางเทคนิคโดเมน (Technical Contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจดโดเมน (Billing Contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์
ชื่อและเลขที่อยู่ไอพี
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ตจะมีเลขที่อยู่ไอพี
(IP-Address) และแต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องมีเลขที่อยู่ไอพีไม่ซ้ำกัน
เลขที่อยู่ไอพีนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้ แต่ละองค์กรนำไปปฏิบัติ
เพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้นและการบริหารเครือข่ายทำได้ดี
จึงมีการกำหนดชื่อแทนเลขที่อยู่ไอพี เรียกว่า ชื่อโดเมน โดยจะมีการตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่บนเครือข่าย
เช่นphiboon.org ซึ่งใช้แทนเลขที่อยู่ไอพี 202.142.221.5 การกำหนดให้มีการใช้ระบบชื่อโดเมนมีการกำหนดรูปแบบเป็นลำดับชั้น
เช่น
Domain Name .com หรือ .net และ .net.th แตกต่างกันอย่างไร
ระบบของ Domain
Name จะมีการจัดแบ่งออกเป็นหลาย Level โดยเริ่มตั้งแต่ Top Level ซึ่งประกอบด้วย
Generic Domain (gTLD)
ซึ่งได้แก่ Domain
Name ที่ลงท้ายด้วย
.com (Commercial),
.net
(Networking),
|
บริการในระบบอินเตอร์เน็ต
บริการในระบบอินเตอร์เน็ต
บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีแหล่งที่ให้บริการข้อมูล ข่าวสาร บทความรายงาน
ผลงานวิจัยและความบันเทิงด้านต่างๆรูปแบบการให้บริการบนอินเตอร์เน็ต มีดังนี้
1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail)
เป็นการรับ – ส่งจดหมายถึงกันผ่านเครือข่าย อินเตอร์เน็ต
การส่งเอกสารข้อความมีลักษณะเหมือนการส่งจดหมาย
แต่ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานให้เองโดยอัตโนมัติทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว
สามารถติดต่อกันได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคที่ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีที่อยู่ (E-mail address)เช่น san@kku.ac.th, scha@rayongwit.ac.th , mjeeb@oho.ipst.ac.th,webmaster@thaigoodview.com
2.การถ่ายโอนข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)
2.การถ่ายโอนข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)
เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล
ข่าวสาร บทความ รวมถึงแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในกรณีที่โอนย้ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนอินเตอร์เน็ต
มาลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า ดาวน์โหลด (download) ส่วนกระบวนการนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่ง
ไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนอินเตอร์เน็ตเรียกว่า อัพโหลด (upload)
3. การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น (telnet)
3. การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น (telnet)
ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบอื่นๆในที่ห่างไกล
ช่วยให้ผู้ใช้ ไม่ต้องเดินทางไปที่เครื่องนั้นๆ
4.โกเฟอร์ (gopher)
4.โกเฟอร์ (gopher)
บริการค้นหาไฟล์และฐานข้อมูลเป็นบริการที่คล้ายกับ FTP แต่การจัดเก็บสารบบรายการแฟ้มข้อมูล และไอคอนของโกเฟอร์
จะมีความเป็นระเบียบและแสดงรายละเอียดได้ดีกว่า FTP ซึ่งเสมือนกับตู้บัตรคำในห้องสมุดที่สามารถค้นหาข้อมูล โดยการระบุชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อที่เกี่ยวข้อง
5.การสนทนา (chat) และข่าวสาร (Usenet)
จะมีความเป็นระเบียบและแสดงรายละเอียดได้ดีกว่า FTP ซึ่งเสมือนกับตู้บัตรคำในห้องสมุดที่สามารถค้นหาข้อมูล โดยการระบุชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อที่เกี่ยวข้อง
5.การสนทนา (chat) และข่าวสาร (Usenet)
เป็นการจัดเก็บข่าวสารที่ส่งไปไว้ในคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง
โดยที่ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านข่าวสาร มีการจัดกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและแสดง
ความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆผ่านทางอินเตอร์เน็ต
6.เวิร์ลไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW)
6.เวิร์ลไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลข่าวสารเข้าหากันและครอบคลุมทั่วโลก
ลักษณะของข้อมูล ที่สืบค้นได้จะเป็นเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ที่สร้างด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ
ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว บริการนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
เนื่องจากสร้างและแก้ไขง่าย ผู้คนหรือหน่วยงานต่างๆ จึงนิยมนำเสนอข้อมูลหรือขายสินค้าด้วยบริการนี้ การเข้าถึงข้อมูลแต่ละแห่งเปรียบเสมือนการเยี่ยมบ้านของแต่ละคนเราจึงมักได้ยินคำว่า
โฮมเพจ (Homepage) หรือบ้านของแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งและสามารถเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บเพจ (Webpage) อื่นๆได้อีก
Web Sites ที่น่าสนใจ
1.เว็บไซต์ทางการศึกษา
http://oho.ipst.ac.th
http://www.school.net.th
http://www.ku.ac.th
http://www.thaigoodview.com
http://www.rakang.net
http://www.school.net.th
http://www.ku.ac.th
http://www.thaigoodview.com
http://www.rakang.net
2. เว็บไซต์สำหรับสืบค้นข้อมูล
http://www.siamguru.com
http://www.thaiseek.com
http://www.thaifind.com
http://www.sansarn.com
http://www.google.com
http://www.thaiseek.com
http://www.thaifind.com
http://www.sansarn.com
http://www.google.com
3. เว็บไซต์ที่รวบรวมนิตยสารคอมพิวเตอร์ไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง
4. ส่งบัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ในโอกาสต่างๆ
http://www.thaimail.com
5. ข่าวที่น่าสนใจ 24 ชั่วโมง ทั่วโลก
http://www.cnn.com
http://www.mcot.net
http://www.mcot.net
6. พยากรณ์อากาศทั่วโลก
7. แหล่งซอฟต์แวร์ฟรี
ที่น่าสนใจ
http://www.thaiware.com
http://www.easyhome.in.th
http://www.download.com
http://www.easyhome.in.th
http://www.download.com
8. ดนตรี
http://www.musiccyber.com
http://www.eotoday.com
http://www.eotoday.com
9. ตัวอย่างภาพยนตร์
http://www.papayont.com
10. คอมพิวเตอร์ เทคนิค และการใช้งาน
10. คอมพิวเตอร์ เทคนิค และการใช้งาน
การสนทนาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
การสนทนาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ไออาร์ซี (Internet Relay Chat : IRC) เป็นกลุ่มโปรแกรมสำหรับสนทนาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
โดยการส่งข้อความ (message) จากเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ทันที กลุ่มสนทนาอาจมีมากกว่า 2 คนขึ้นไป โปรแกรมไออาร์ซี จะแสดงให้ทราบว่ามีใครบ้างกำลังร่วมสนทนากันอยู่ ใครบ้างเข้ามาใหม่
หรือใครบ้างที่กำลังออกจากระบบไออาร์ซีเป็นกลุ่มโปรแกรมที่พัฒนามาจากพื้นฐานของโปรแกรม Talk บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) และนิยมเรียกกันว่า Chat ปัจจุบันมีการพัฒนาโปรแกรมสนทนาผ่านเครือข่ายมากขึ้นและหลายรูปแบบ เช่น
โปรแกรมไอซีคิว (ICQ) , โปรแกรมเพิร์ช (Pirch), โปรแกรมไมโครซอฟท์ เมสเสจ (Microsort Message)เป็นต้น
การสนทนาอีกแบบหนึ่งที่เรามักพบ บนอินเตอร์เน็ต คือ เว็บบอร์ด (Webboard) หมายถึง กระดานข่าว
ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเขียนข้อความของตนเอง
ไปวางไว้ที่บอร์ดตามหัวข้อที่สนใจ เมื่อมีผู้อื่นอ่านพบและสนใจตอบคำถามหรือสนทนาด้วย
ก็จะเขียนข้อความของตนส่งไปไว้บ้าง
ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตขึ้น
จรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ
จรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3. ต้องไม่สอดแนม หรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น 4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธ์ 7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ 10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเตอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝัง กฎเกณฑของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ และเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจนเช่น หากปฏิบัติเช่นไรจะถูกคัดชื่อออกจากการเป็นผู้ใช้เครือข่ายอนาคตของการใช้เครือข่ายยังมีอีกมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สังคมสงบสุข และหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้
ข้อควรระวัง
1. อย่าเชื่อผู้สนทนาที่เราไม่รู้จัก
2. อย่าบอกชื่อที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์จริงของผู้ใช้ให้กับคู่สนทนาที่ไม่รู้จักกันมาก่อน |
วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์
(Gateway) หรือ IP Router สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่
เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อ
ผ่านInternet
Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์
เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการ
เชื่อมโยง
รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual
Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน
จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้
งานอินเตอร์เน็ตได้
องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล
1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์
รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
4. โมเด็ม (Modem)
2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection)
2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate
Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
แบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ
ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local
Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย
(Wireless Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊ก (Note
book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง
(Mobile Internet)
1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต
ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา
แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6
kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น
จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง
และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก
เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40
kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56
kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง
ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple
Access) ระบบ CDMA นั้น
สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี
โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153
Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้
้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ
ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4
- 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด
เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
การใช้บริการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
การใช้บริการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
1.การขอมีบัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
หน้าต่าง เมื่อคลิกเข้าไปลงทะเบียน กรอกรายละเอียด ง่ายๆ
เมื่อคลิกลงทะเบียนเข้าไปแล้ว ให้สังเกตขวาบน มีข้อความว่า " ฉันพร้อมแล้ว ไหนล่ะบัญชีของฉัน" คลิกเข้าไปเลย เท่านี้เรียบร้อย
หน้าตาของเมล เรียบง่าย ให้สังเกต บนสุด มีช่องแบบฟอร์ม ค้นหาจดหมาย เป็นการเสิร์ซหาจดหมาย ง่ายๆ ไม่ต้องจัดหมวดหมู่ ใช้ระบบค้นหา รายแรกของโลก ติดดาว หมายถึงจดหมายที่สำคัญ ก็ติดดาวซะ การลบเมล ไม่ต้องลบ เพียงแต่ย้ายลงไปเก็บไว้ในถังขยะ เท่านั้นเอง |
หน้าตาของหน้าต่างที่ใช้เขียนจดหมาย
การจัดการ Accounts ของเรา เช่น เปลี่ยนรหัส เปลี่ยนชื่อ สารพัดเมนู เข้าที่ https://www.google.com/accounts/ โดยใช้ชื่อผู้ใช้เป็นเมลเต็มเช่น xxxx@gmail.com รหัสก็คือ รหัสที่เข้าเมล เมื่อไม่ต้องการใช้เมลแล้วก็ช่วย Delete Account ทิ้งด้วย |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)