พื้นฐานการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต
การสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นเป็นการรับ-ส่งข้อมูลหรือที่เรียกว่า
การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน
ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อและต้องการสื่อสารข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆในเครือข่าย
อาจจะมีฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น
เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันและแปลความหมายได้ตรงกัน
จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกันซึ่งเรียกว่า โพรโทคอล (Protocol)
โพรโทคอล คือ
ระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล
โดยสามารถส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง
โดยโพรโทคอลนั้น มีหลายชนิด เช่น โพรโทคอล IPX/SPXโพรโทคอล NetBEUI และโพรโทคอล Apple Talk ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานต่างกัน
ดังนั้น
การสื่อสารระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ข้อตกลงโพรโทคอลเช่นเดียวกันซึ่งโพรโทคอลที่นิยมใช้ในการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
เป็นโพรโทคอลทีซีไอพี (TCP/IP :
Transmission Control Protocol/Internet Protocol)เป็นหลัก
จุดเด่นของโพรโทคอล
ทีซีพีไอพี (TCP/IP) คือเมื่อการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปการณ์ใดๆ
เข้าสู่ระบบเครือข่ายที่เป็นทีซีพีไอพี (TCP/IP) นั้น
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ติดต่อสื่อสารร่วมกันจะต้องมีหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายกำกับเสมอ
เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูลต้นทางและนำข้อมูลไปยังเครือข่ายเครื่องปลายทางที่ถูกต้อง
ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารจะต้องมีการระบุหมายเลขขอเครื่องต่างๆที่ไม่ซ้ำกันไม่เช่นนั้นข้อมูลก็อาจจะไม่ถึงที่หมายปลายทางได้
หมายเลขของเครื่องหรืออุปกรณ์นี้เรียกว่า ไอพี (IP) โดยหมายเลขกำกับที่เป็นหมายไอพี จะเป็นเลขฐาน 2 ขนาด 32 บิต
เลขแต่ละชุดจะถูกคั่นด้วยจุด ดังนั้น เลขแต่ละชุดจึงสามารถมีค่าตั้งแต่ 0-255
จากหมายเลขไอพี
ขนาด 32 บิต
ที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นไอพีเวอร์ชัน 4 สามารถใช้อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ตได้มากถึงสี่พันล้านเครื่องโดยประมาณซึ่งเป็นจำนวนที่มากหมายมหาศาลจากในอดีต
แต่ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น
จึงทำให้หมายเลขไอพีที่ใช้ในปัจจุบันเริ่มไม่เพียงพอเนื่องจากการขยายตัวของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุกรณ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
จึงได้มีการพัฒนาเป็นไอพีเวอร์ชัน 6 ซึ่งกำหนดโดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชัน 4 และมาตรฐานไอพีเวอร์ชัน 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิต ในการระบุหมายเลขไอพี
ระบบชื่อโดเมน (Domain
Name System)
Domain Name คือชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ
ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้
ชื่อ Domain Name จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก
ไม่แตกต่างกันเพราะ ระบบอินเตอร์เน็ตจะรับรู้ตัวอักษรเป็นตัวเล็กทั้งหมด เช่นITTradefair.com และ ittradefair.com ถือว่าเป็นชื่อเดียวกัน
Domain Name ทำงานอย่างไร
ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะใช้กลุ่มตัวเลข 4 กลุ่มที่คั่นด้วยจุด (ตัวเลขในแต่ละกลุ่มจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255) เช่น 203.33.192.255 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ IP Address ในการระบุตำแหน่งของ Website ต่างๆ
เพื่อให้รู้ว่าอยู่บนเครื่องใดและอยู่ในเครือข่ายใด แต่เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลขซึ่งยากแก่การจดจำดังนั้นจึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะใช้ชื่อหรือกลุ่มของตัวอักษร
ซึ่งก็คือ Domain Name ในการอ้างอิงแทน
โดยจะอาศัย DNS Server มาช่วยจับคู่ IP Address และ Domain name เข้าด้วยกัน
ดังนั้นเมื่อมีผู้ต้องการที่จะเรียกดู Website ของท่าน ไม่ว่าจะทราบ IP Address หรือ Domain name เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็จะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ผิดพลาด
การเตรียมการเพื่อจดชื่อโดเมน
ชื่อโดเมนที่ต้องการจดทะเบียน ผู้ให้บริการจดโดเมน
ที่ต้องการไปจะจดกี่ปี ค่าบริการเท่าไรเจ้าของชื่อโดเมน (Registrant) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ถ้าหากเป็นองค์กร
ให้ใส่ชื่อองค์กรผู้ดูแลชื่อโดเมน (Administrative Contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์ผู้ติดต่อทางเทคนิคโดเมน (Technical Contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจดโดเมน (Billing Contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์
ชื่อและเลขที่อยู่ไอพี
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ตจะมีเลขที่อยู่ไอพี
(IP-Address) และแต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องมีเลขที่อยู่ไอพีไม่ซ้ำกัน
เลขที่อยู่ไอพีนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้ แต่ละองค์กรนำไปปฏิบัติ
เพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้นและการบริหารเครือข่ายทำได้ดี
จึงมีการกำหนดชื่อแทนเลขที่อยู่ไอพี เรียกว่า ชื่อโดเมน โดยจะมีการตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่บนเครือข่าย
เช่นphiboon.org ซึ่งใช้แทนเลขที่อยู่ไอพี 202.142.221.5 การกำหนดให้มีการใช้ระบบชื่อโดเมนมีการกำหนดรูปแบบเป็นลำดับชั้น
เช่น
Domain Name .com หรือ .net และ .net.th แตกต่างกันอย่างไร
ระบบของ Domain
Name จะมีการจัดแบ่งออกเป็นหลาย Level โดยเริ่มตั้งแต่ Top Level ซึ่งประกอบด้วย
Generic Domain (gTLD)
ซึ่งได้แก่ Domain
Name ที่ลงท้ายด้วย
.com (Commercial),
.net
(Networking),
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น